.

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เด็กไทยเห่อเน็ต !! ของเล่นโบราณกว่า 300 ชนิด ถูกทิ้ง…

เด็กไทยเห่อเน็ต !! ของเล่นโบราณกว่า 300 ชนิด ถูกทิ้ง…

 เด็กไทยเห่อเน็ต !! ของเล่นโบราณกว่า 300 ชนิด ถูกทิ้ง…

เด็กไทยเห่อเน็ต !! ของเล่นโบราณกว่า 300 ชนิด ถูกทิ้ง…

กลุ่มรุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้านเครือข่ายชุมชนทำของเล่น การเล่นของเล่นพื้นบ้าน 4ภาค และการละเล่นเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็ก ห่วงของเล่นโบราณไทยจะสูญ


นายทวีทรัพย์ นามขจรโรจน์ ผู้ประสานงาน เปิดเผยว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาตินี้ทางกลุ่มรุ่งอรุณของเล่นพื้นบ้าน อยากจะเรียกร้องให้สังคมไทยหันมาสนใจของเล่นไทย ของเล่นโบราณกว่า 300ชนิดกำลังจะสูญหายและบางอย่างได้สูญหายไปแล้วจากสังคมไทย เพราะสังคมเปลี่ยนไปจากชุมชนท้องถิ่น เป็นสังคมเมือง อีกทั้งเด็กไทยหันไปเล่นเกม เล่นอินเตอร์เน็ต ติดโทรศัพท์มือถือมากกว่า หากจะเห็นก็มีแต่งานที่จัดขึ้นเฉพาะเท่านั้นถึงจะมีการทำขึ้นเพื่อแสดงหรือสาธิตให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เล่น


ซึ่งของเล่นโบราณที่สมัยก่อนเป็นที่นิยมมากแต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้วเกือบ 100 % มีกว่า 300ชนิด อาทิ ลูกข่างตะปู จะมีแต่การสาธิตในงานประเพณีภาคเหนือ ส่วนภาคกลาง อีสาน ใต้ การละเล่นลูกข่างได้สูญหายไปแล้ว ,พะโพล๊ะ นำเอาไม้ไผ่มาทำเป็นปืนอัดลมยิงด้วยกระสุนกระดาษยิงเล่น ,จานบินไม้ไผ่ เล่นสนุก ฝ่ามือ 2ข้าง ประกบแกนไม้ ปั่น จานบินหมุนลอยขึ้นบนอากาศ


ขลุ่ยเสียงนก เป่าเลียนเสียงนกได้หลายตัว เป่าบ่อย ๆ ปอดแข็งแรง ฝึกสังเกตการฟังเสียงนก , จักจั่น จับด้ามไม้ แกว่ง เกิดเสียงคล้ายเสียงจักจั่น, งูกินนิ้ว เล่นสนุก เล่นได้ทุกวัย ใช้นิ้วใส่ปากงู ดึงหาง ยิ่งดึงยิ่งแน่น ถ้าดันหาง..งูย่น..ปากจะอ้า ,บินร่อน จับสันใต้บินร่อน ปาพุ่งไปข้างหน้า จะบินร่อนไปจนหมดแรงส่ง พัฒนากล้ามเนื้อแขนและสายตา ,โคมตุ้งติ้ง แขวน โคมจะหมุนไปมาเอง ,หนูดุ๊กดิ๊ก จับด้ามไม้แยกออก ขยับขึ้นลง-ซ้ายขวา จะเห็นสีสรรสวยงาม ,ไม้มายา จับด้ามไม้สะบัดออก กระดาษพุ่งออกไปแล้วกลับมา ,พัดสีรุ้ง สีสวย พัดเย้น ลิ้นมังกร เป่าลม ปลายที่ม้วนจะยืดออก มีเสียงเบา ๆ ,หุ่นเชิด จับด้าม ดึงเชือก แขนขาจะขยับ ,ป๋องแป๋ง จับด้ามไม้ บิดไป-มา ลูกตุ้กระทบหน้ากลองดังป๊องแป๊ง ,กังหันแต๊กแต๊ก ใบพัดหมุนดี เสียงดัง เมื่อลมกระทบใบ และว่าวแสนสนุก บินง่าย กินลมดี สำหรับเด็กหัดวิ่ง ซึ่งว่าวแสนสนุกนี้ยังเห็นมีเล่นกันที่สนามหลวงอยู่บ้าง


จริงๆ แล้วของเล่นพื้นบ้าน ของเล่นโบราณของไทยเหล่านี้มีประโยชน์มากกว่าความสนุกสนาน หรือการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาการทำของเล่นพื้นบ้านอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ของเด็กการเล่นที่หลากหลายจะกระตุ้นเซลล์สมองของเด็กให้แผ่ขยายได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้และจดจำ พัฒนาเด็กทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ คลายเครียด


ปัจจุบันเด็กๆ สามารถเรียนรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์จากของเล่นพื้นบ้านเป็น 5กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเสียง เช่น จักจั่น กังหัน ป๋องแป๋ง
2.กลุ่มแรงและแรงดึงกลับ เช่น หุ่นเชิด ชุดชัก หนังสติ๊ก
3.กลุ่มความดันอากาศและแรงยก เช่น พะโพล๊ะ
4.กลุ่มจุดศูนย์ถ่วง ฝึกการทรงตัว เช่น ขาหยั่ง เดินกลา เรือใบลาน
5.กลุ่มคาน/ล้อ/เพลา เช่น ล้อคะทา รถเด็กเล่นที่ทำจากไม้ไผ่นำมาพาดไว้ที่คอแล้วดันไปข้างหน้า เป็นต้น


นอกจากนี้ของเล่นบางอย่างยังจัดอยู่ในกลุ่มสร้างทักษะชีวิต เช่น ชฎาลิเก เป็นการสวมบทบาทสมมติสอนให้เด็กรู้จักใช้ชีวิตจริงในสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น